วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนวันอังคารที่ 22 กันยายน 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่  7  
เวลาเรียน  8.30 - 12.00 น.


Knowledge : ความรู้

*  นำเสนองานวิจัย

งานวิจัยเรื่อง  การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  

                      ( นางสาววราภรณ์  แทนคำ )  ( ผู้ทำวิจัย  จุฑามาศ  เรือนกำ )

สร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์โดยการวิเคราะห์และเลือกหน่วยการเรียนรู้

จำนวน 5 หน่วย  ที่ใกล้ตัวเด็กและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน  คือ  หน่วยสัตว์เลี้ยงแสนดี  ผลไม้น่าทาน

ต้นไม้เพื่อนรัก  ดอกไม้แสนสวยและวิทยาศาสตร์น่ารู้  และนำมาสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะ

กระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน  ได้แก่  การวัด  การสังเกต  การจำแนก

และการหามิติสัมพันธ์

งานวิจัยเรื่อง  การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์

                     ( นางสาวรัตนาภรณ์  คงกะพันธ์ ) ( ผู้ทำวิจัย  เสกสรร  มาตวังแสง )

ในการวิจัยครั้งนี้เป็นกึ่งการทดลอง  ซึ่งทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเด็กปฐมวัย  โดยผู้วิจัยสร้าง

ความคุ้นเคยกับกลุ่มตัวอย่างหนึ่งสัปดาห์ก่อนการทดลอง  จากนั้นทำการทดลองเพื่อวัดความคิด

วิจารณญาณก่อนการทดลอง  โดยใช้แบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

กับกลุ่มตัวอย่างและดำเนินการทดลองด้วยตนเอง จำนวน 8 สัปดาห์  เมื่อดำเนินการทดลองครบ 8

สัปดาห์นำแบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยมาทดสอบอีกครั้ง  และนำข้อมูลที่ได้จากการ

ทดสอบไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิต

งานวิจัยเรื่อง  ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

ของเด็กปฐมวัย  ( นางสาวยุภา  ธรรมโครต ) ( ผู้ทำวิจัย ยุพาภรณ์  ชูสาย )

จะจัดกิจกรรมแบบเป็นการทดลองและเปิดโอกาสให้เด็กทำกิจกรรมด้วยตนเอง เป็นการให้อิสระแก่เด็ก

เรียนรู้ด้วยตนเองซึ่งครูคอยแนะนำ ช่วยเหลือ ให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์และการแก้ปัญหาทาง

วิทยาศาสตร์ด้วยการทดลอง เรื่องสีจากธรรมชาติ จะสอนในเรื่อง การสังเกต การจำแนก

และการหามิติสัมพันธ์

*  นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์เรื่อง  "พลังงานลม"

ชื่อสิ่งประดิษฐ์จากของเหลือใช้  "รถหรรษาจากพลังงานลม"

วิธีการเล่น

1.  ใช้ปากเป่าไปที่กรวยด้านบนของรถ

2.  ใช้พัดพัดไปที่กรวยด้านบนของรถ

หลักการทางวิทยาศาสตร์

ลมมีแรงสามารถทำให้วัตถุเคลื่อนที่ได้  แรงนั้นเรียกว่า  พลังงาน

Skills :  ทักษะ

-  การใช้คำถาม - ตอบ

-  การเชื่อมโยงสิ่งประดิษฐ์เข้าสู่บทเรียนทางวิทยาศาสตร์

-  การคิดสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้

Apply :  การนำไปใช้

-  สามารถนำสิ่งประดิษฐ์ไปสอนเด็กในอนาคตได้

-  นำเอาสิ่งประดิษฐ์ของเพื่อน ๆ ที่มานำไปประยุกต์ใช้ในอนาคต

-  สามารถนำสิ่งประดิษฐ์ไปใช้ในกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ได้

-  สามารถนำมาจัดกิจกรรมให้เด็ก ๆ ได้เล่นแข่งขันกันอย่างสนุกสนาน

Evaluation : การประเมิน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

แต่งตัวเรียบร้อย  เข้าสอนตรงต่อเวลา  มีการเตรียมความพร้อมในการสอน

ให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม

ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน

เพื่อน ๆ แต่งกายเรียบร้อย  และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียน

ประเมินตนเอง

แต่งกายเรียบร้อย มาเข้าเรียนตรงเวลา  พยายามตอบคำถามที่อาจารย์ถาม

ประเมินสภาพห้องเรียน

ห้องเรียนสะอาดดี  อุปกรณ์ใช้งานได้ แต่เชื่อมอินเตอร์เน็ตไม่ได้



วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558

สรุปโทรทัศน์ครู

สรุปโทรทัศน์ครู  


-  ครูจะพาเด็ก ๆ สำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัวทุกเช้าหลังเข้าแถวเสร็จ  ครูจะพาเด็ก ๆ เดินสำรวจรอบ

โรงเรียน  เด็กจะได้ความเป็นนักวิทยาศาสตร์เริ่มจากการสังเกต

-  วิธีการสอนจากการสำรวจจะเชื่อมโยงไปถึงหน่วยการเรียนรู้ในห้องเรียนด้วย เช่น คุณครูสอนเด็กเรื่อง 

หญ้าแฝกทำไมถึงกันดินทลายได้  ครูก็จะเชิญวิทยากรมาให้ความรู้กับเด็ก  และเด็กก็จะได้เรียนรู้โดย

การปฏิบัติจริง  เด็กได้ลองเทน้ำลงไปในดินเปล่า  และดินที่มีหญ้า  เด็กก็จะเห็นถึงความแตกต่างกัน

-  โรงเรียนยังส่งเสริมกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยเริ่มต้นตั้งแต่ในครอบครัวด้วยการทำกิจกรรมในการหา

คำตอบที่เป็นเหตุเป็นผลร่วมกัน  เพราะครอบครัวเป็นหน่วยสำคัญที่ทำให้เด็กมีความสนใจวิทยาศาสตร์

มากขึ้น  เด็ก ๆ เรียนรู้วิทยาศาสตร์ตั้งแต่อนุบาล  ทำให้เด็กรู้ว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องง่าย สนุก 

และเป็นเรื่องใกล้ตัว


วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนวันอังคารที่ 15 กันยายน 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่  6  
เวลาเรียน  08.30 - 12.00  น.

Knowledge  :  ความรู้

*  กิจกรรมก่อนเรียนอาจารย์ให้เขียนอธิบายว่าสมองทำงานอย่างไร ?

สรุปจากในห้องเรียนได้ว่า =  สมองทำงานเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้น  สมองจะซึบซับไว้และจะเชื่อมโยง

เปลี่ยนแปลงความรู้ให้เป็นความรู้ใหม่

คำถาม  =  EF  คืออะไร

EF  คือ  Executive  Functions  เป็นกระบวนการทางความคิดในสมองส่วนหน้า   ช่วงวัย  3-6 ปี  

เป็นช่วงเวลาทองของชีวิตในการพัฒนาทักษะ  EF  ให้กับเด็ก  ประกอบด้วย  9  ทักษะ

* นำเสนอบทความ

   บทความเรื่อง  แนวทางสอนคิดเติมวิทย์ให้เด็กอนุบาล  ( นางสาวสจิตรา  มาวงษ์  เลขที่  23 )

   แนวทางในการสืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก  มีแนวทางปฏิบัติ  5  ข้อดังนี้

  1.  ตั้งคำถามที่ตรวจสอบได้ด้วยตนเอง

  2.  ออกไปหาคำตอบด้วยตนเอง

  3.  เด็กจะนำสิ่งที่ค้นพบมาหาคำตอบด้วยตนเอง  และครูสามารถช่วยเสริมเหตุผล

  4.  นำสิ่งที่ค้นพบมาเล่าให้เพื่อนฟัง

  5.  เอาคำตอบไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายวิทยาศาสตร์

  บทความเรื่อง  เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทาน  (นางสาวประภัสสร  สีหบุตร  เลขที่  22)

  การจัดกิจกรรมโดยใช้นิทานเป็นสื่อในการเรียน  เด็กจะใช้จินตนาการเป็นการเชื่อมโยง

  นิทานที่มีคำซ้ำ ๆ  คำกลอน  เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์  เด็กจะสามารถเรียนรู้ได้ง่ายและมีเหตุผล

  เช่น  นิทานเรื่องเรียนรู้สัตว์น่ารัก

  เทคนิค        -  เด็กเล็ก ๆ ควรเลือกนิทาน  เรื่องใกล้ตัวเด็ก

                     -  สร้างอารมณ์ขณะเล่าใช้เสียงต่าง ๆ เด็กจะสังเกตอารมณ์

                    -   สื่อในการเล่านิทาน

ประโยชน์ : ช่วยให้มีการเรียนรู้อย่างมีเหตุผล  สามารถจำแนก  เข้าใจความเป็นจริงของชีวิต


Skills  :  ทักษะ

*  การระดมความคิด
 
   การวิเคราะห์  การสังเคาระห์  คว่ามรู้เกี่ยวกับเรื่องสมอง

Apply  :  การนำไปใช้

*  สามารถนำความรู้ที่ได้ในห้องไปประยุกต์ใช้ในการเรียนวิชาอื่นได้  เช่น  เรื่องการทำงานของสมอง

Evaluation  :  การประเมิน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา  มีการเตรียมความพร้อมก่อนมาสอนเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน

เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย  ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม

ประเมินตนเอง

เข้าเรียนตรงเวลา  มีความร่วมมือในการตอบคำถามของอาจารย์

วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนวันอังคารที่ 8 กันยายน 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่  5

เวลาเรียน  08.30  - 12.00  น.

Knowledge  :  ความรู้

*  ทฤษฏีการเรียนรู้ของพาฟลอฟ  คือ  การวางเงื่อนไข
 
    ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดน์  คือ  การลองผิดลองถูก
 
    คุณครูควรรู้วิธีการเรียนรู้ของเด็กเพื่อจัดการเรียนรู้
*เกร็ดความรู้  -  แสงเดินทางเป็นเส้นตรง  มี  7  แสงเหมือนรุ่ง

                      -  เสียงเกิดจากวัตถุกับวัตถุกระทบกัน

                      -  ลมเกิดจากการเคลื่อนที่ของอากาศ  ลมมีตัวตนและต้องการที่อยู่

                     -   ลมมีแรงสามารถทำให้วัสถุเคลื่อนที่ได้
                     
                     -   แรงโน้มถ่วงของโลกมีแรงดึงดูดยิ่งกว่าแม่เหล็ก

*  วิทยาศาสตร์มีอยู่รอบตัว  และเราต้องหาข้อความรู้  เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เด็กได้เรียนรู้โดย

การลงมือกระทำ

Skills  :  ทักษะ

*  การใช้คำถาม  ถาม -  ตอบ

*  กิจกรรมในห้องเรียน

    การลงมือปฏิบัติโดยอาจารย์แจกกระดาษ  ให้คิดว่าทำอะไรเด็กถึงจะได้ประสบการณ์วิทยาศาสตร์

    จากกระดาษแผ่นนี้   ทำเรื่อง...แรงโน้มถ่วง


ข้อมูลเพิ่มเติมจากการนำเสนอในห้องเรียน  =  แม้ว่าแรงโน้มถ่วงจะไม่ทำให้เรารับรู้ได้มากนัก

เป็นเพราะความเบาบางที่กระทำต่อเรา  แต่ก็เป็นแรงเดียวที่ยึดเนี่ยวเราไว้กับพื้นโลกนั้นเอง

คำถามในห้องเรียน  :  ถ้าวัตถุมีมวลน้ำหนักต่างกันจะตกถึงพื้นพร้อมกันหรือไม่ ?

                      ตอบ   :  ไม่พร้อมกัน  เพราะ  บนโลกของเรา (มีชั้นบรรยากาศ) เมื่อปล่อยวัตถุมวลต่างกัน

                                     ความสูงเท่ากันในเวลาเดียวกัน  มวลน้อยกว่าจะตกลงช้าพื้นช้ากว่า
     
                                     เพราะมีแรงพยุง    

Apply  :  การนำไปใช้

*  สามารถนำกิจกรรมที่เพื่อน ๆ นำเสนอ  หรือสิ่งประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์ให้

กับเด็ก  ๆ  ได้

Evaluation  :  (การประเมิน)

อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา  เตรียมความพร้อม  และใช้คำถามรวมถึงสรุปให้นักศึกษาเข้าใจ

ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน

เพื่อนตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือ  และมีเพื่อนบางคนมาเข้าเรียนสาย

ประเมินตนเอง
เข้าเรียนตรงเวลา  ตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือ

ประเมินสภาพห้องเรียน

อุปกรณ์เครื่องมือในห้องเรียนใช้งานได้ดี

บันทึกการเรียนวันอังคาร ที่ 1 กันยายน 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่  4
เวลา  08.30 - 12.00  น.

Knowledge  :  ความรู้ที่ได้รับ

*  เข้าร่วมการฟังบรรยายทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่  ๒๑

( ผู้ให้ความรู้ ดร.อภิภู  สิทธิภูมิมงคล  มหาวิทยาลัยมหิดล )

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวข้าม "สาระวิชา" ไปสู่การเรียนรู้ "ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21"

(21st Century Skills) ซึ่งครูจะเป็นผู้สอนไม่ได้ แต่ต้องให้นักเรียนเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครูจะ

ออกแบบการเรียนรู้ ฝึกฝนให้ตนเองเป็นโค้ช (Coach) และอำนวยความสะดวก (Facilitator) ในการเรียนรู้

แบบ PBL (Professional Learning Communities ; PLC) เกิดจากการรวมตัวกันของครูเพื่อแลกเปลี่ยน

ประสบการณ์การทำหน้าที่ของครูแต่ละคนนั่นเอง


LEARNING  PYRAMID



Apply  :  การนำไปใช้

-  สามารถนำความรู้ในครั้งนี้ไปต่อยอดในการปรับตัวและพัฒนาการเรียนการสอนในฐานะที่นักศึกษาครู

-  ได้วิธีการค้นหาความรู้ที่สะดวกและง่ายมากขึ้น