วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนวันอังคารที่ 27 ตุลาคม 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่  11
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น.

Knowledge : ความรู้

กิจกรรมที่ 1  ตัดกระดาษเป็นดอกไม้ แล้วระบายสี

                    จับกลุ่ม 5-6 คน ตัดรูปดอกไม้แล้วระบายสีแล้วพับให้มันเป็นก้อน ๆ  นำมาลอยงในน้ำ

(ให้สังเกตการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเพื่อนทุกคนในกลุ่มแล้วจดบันทึกและสังเกตการเปลี่ยนแปลง

ของดอกไม้)







กิจกรรมที่ 2 ให้ทายว่าถ้าเปิดรูไหนน้ำจะไหลไปได้ไกลที่สุด

                    ปิดรูที่ขวดทั้งหมด 3 รู แล้วเติมน้ำให้เต็มขวด หลังจากนั้นให้เด็ก ๆ ทายสิว่า

ถ้าคุณครูเปิดรูไหนแล้วน้ำจะพุ้งไปไกลกว่ากัน

ครั้งที่ 1 ครูเปิดทีละรู ปรากฏว่ารูตรงกลางพุ้งแรงกว่า

ครั้งที่ 2 ครูเปิดพร้อมกันหมดเลย ปรากฏว่ารูตรงกลางมีน้ำพุ้งแรงกว่าทุกรู เป็นเพราะรูตรงกลางมีแรงดัน

             มากกว่า



กิจกรรมที่ 3 ทดลองน้ำพุ ตั้งสมมุติฐานว่าถ้าเทน้ำลงในขวดให้เต็มจะเกิดอะไรขึ้น






เมื่อเทน้ำลงในขวดจนเต็ม น้ำก็จะไหลตามสายยางเกิดเป็นน้ำพุพุ่งขึ้นมา



แต่เมื่อลองปิดปากขวด น้ำพุก็จะหยุดไหล
















กิจกรรมที่ 4 ลูกยาง ครูแจกอุปกรณ์ให้ 2 อย่าง คือ กระดาษ และคิปหนีบกระดาษ แล้วนำมาพับแล้วเอา

คิปหนีบตามรูป  จากนั้นนำมาปล่อยแข่งกันว่าของใครจะสามารถอยุ่บนอากาศได้นานกว่ากัน พร้อม

สังเกตของเพื่อนที่อยู่ได้นาน แล้วมาปรับปรุงของตัวเอง



กิจกรรมที่ 5 ไหมพรหมเต้นระบำ ครูแจกอุปกรณ์หลอดและไหมพรหม นำมาร้อยใส่กันตามรูป

วิธีการเล่น  นำมาเป่าตรงหลอดไหมพรหมก็จะเต้นระบำตามลมที่เป่า



กิจกรรมที่ 6 การทดลองเรื่องเทียนไข



หาคำตอบต่อจากในห้อง

* สาเหตุที่เทียนไขดับ เหตุผลเพราะ  ออกซิเจนช่วยให้ไฟติดจะพบว่าเมื่อเราใช้แก้วครอบเทียนไข 

ลักษณะของเปลวไฟจะค่อย ๆ หรี่ลง จนในที่สุดเทียนไขจะดับ เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะอากาศมี

ออกซิเจนอยู่ ซึ่งออกซิเจนมีคุณสมบัติในการติดไฟ เมื่อเราครอบแก้วลงไป เทียนไขจะสามารถส่อง

สว่างต่อไปได้อีกสักครู่ จนเมื่อออกซิเจนถูกเผาไหม้หมด เทียนไขก็จะดับลงทันที

* สาเหตุที่น้ำด้านนอกสามารถเข้าไปอยู่ภายในแก้วได้ก็เพราะเมื่อออกซิเจน

ที่มีภายในแก้วถูกใช้ในการเผาไหม้จนหมด(เทียนดับ) จึงทำให้ความดันอากาศภายในแก้วมีน้อยกว่า

ภายนอกแก้ว   ความดันอากาศภายนอกจึงดันให้น้ำนอกแก้วไหลเข้าไปในแก้วที่มีความดันอากาศน้อย

กว่านั้นเอง

Skill : ทักษะ

-  การสมมุติฐาน

-  การสังเกต

-  การจดบันทึกพฤติกรรมโดยบันทึกตามที่ตาเห็น

-  การสืบค้นจากแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

Apply : การนำไปใช้

  วิธีการทดลองต่าง ๆ สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนของเด็กในอนาคต

-  สามารถนำสิ่งรอบ ๆ ตัว มาเป็นวิทยาศาสตร์ที่สามารถนำไปสอนได้

-  สามารถนำกิจกรรมในห้องเรียนไปเล่นกับเด็กแล้วเชื่อมโยงถึงวิทยาศาสตร์ได้

Evaluation : การประเมิน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ มีกิจกรรมให้เรียนรู้ที่หลากหลาย และเชื่อมโยงให้เป็น

วิทยาศาสตร์ โดยให้นักศึกษาสามารถเข้าใจได้ง่าย ๆ 

ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน

เพื่อนเข้าเรียนสายบ้างบางคน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม และตั้งใจเรียน

ประเมินตนเอง

เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน  และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

ประเมินสภาพห้องเรียน

สะอาด อุปกรณ์ใช้งานได้ปกติ



วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนวันอังคารที่ 20 ตุลาคม 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10 
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น.

Knowledge : ความรู้

*  นำเสนอวิจัย

วิจัยเรื่อง  การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ 

                ชุดแบบฝึกทักษะ   ( นางสาวปรางชมพู  บัวชม )

วิทยาศาสตร์มีบทสำคัญยิ่งในสังคมปัจจุบันและสังคมอนาคต เพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับการดำเนิน

ชีวิตของทุกคน การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล

ตัวแปลต้น :  กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์

ตัวแปลตาม : ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 4 ด้าน

เครื่องมือในการวิจัย :  1. ชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์โดยใช้สมองเป็นฐานการเรียนรู้

                                    2. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สาระตามชุดแบบฝึกทักษะ

                                    3. แบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์

สรุป :  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะจึงเป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดกิจกรรมการเรียน

การสอนที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้ ซึ่งผลการวิจัย

ในครั้งนี้เด็กเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จากการสังเกตขณะทำกิจกรรม

วิจัยเรื่อง  การพัฒนาการเรียนการสอนของครูปฐมวัยโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

                ( นางสาวชนากานต์  แสนสุข )

แผนการเล่นสนุกกับน้ำ  1. ครูเล่านิทานเล่นริมน้ำ แล้วให้เด็ก ๆ ออกมาเล่าประสบการณ์เดิม

                                      2. ให้เด็ก ๆ ลองบีบขวดที่ครูเตรียมไว้ให้

                                      3. ครูให้เด็กยืนเรียงแถวแล้วให้บีบแข่งกันใครไกลหว่ากัน

                                      4. ครูและเด็กร่วมสนทนาถึงความรู้สึก

                                      5. ครูตั้งคำถามว่า "นอกจากขวดแชมพูแล้วเราสามารถใช้อะไรได้อีก"

** ระดมความคิดการทำ Cooking ภายในกลุ่ม

ทำทาโกะยากิ


อุปกรณ์
1.   เตาทาโกะยากิ
2.   แป้งอเนกประสงค์
3.   ปูอัด
4.   กะหล่ำปลี
5.   น้ำมัน
6.   น้ำเปล่า เกลือ น้ำตาล
7.   ไข่ไก่  2 ฟอง
8.   ทาคูมิ
9.   มายยองเนส
วิธีการทำ
1.  วิธีการทำซอสเพื่อจิ้ม เทน้ำครึ่งถ้วยตรงลงในกระทะตั้งไฟ ใส่ทาคุมิลงไป 2 ช้อนโต๊ะ
 น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา รอจนเดือด ใส่แป้งอเนกประสงค์ 1 ช้อนชา เคี่ยวจนเหนียว (พักไว้)
                2.    หั่นปูอัดเป็นลูกเต๋า และสับกะหล่ำปลีให้ละเอียด
              3.   ผสมแป้ง 2 ถ้วยตวง กับไข่ไก่ 2 ฟอง ผสมให้เข้ากัน แล้วเทน้ำเปล่า ½  ถ้วย คนส่วนผสมให้เข้ากันแล้วใส่                    กะหล่ำปลี
              4.      เตรียมเปิดเตา ใส่น้ำมันลงไปในหลุมเล็กน้อยทาให้ทั่ว
              5.     เทแป้งลงในหลุมให้ทั่ว รอให้ผิวทีสัมผัสกับเตาเริ่มสุก ใส่ปูอัดลงไป ค่อย ๆ พลิกอีกข้างมาประกบกันโดย                  ใช้ไม้เสียบลูกชิ้น กลับไปมา ให้ผิวทาโกะยากิเป็นสีน้ำตาล  
              6.     จัดใส่จาน ราดด้วยซอสที่ทำไว้และใส่มายยองเนส หรือมีสาหร่ายผงโรยหน้า
Skills : ทักษะ

-  การเชื่อมโยงเข้ากับวิทยาศาสตร์

-  การตอบคำถาม

-  การะดมความคิดเห็นกันในกลุ่ม

Apply : การนำไปใช้

-  สามารถนำไปใช้ในการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์

Evaluation : การประเมิน

ปรเมินอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมให้ได้คิดตลอด มีคำถามที่หลากหลาย

ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน

เพื่อน ๆ ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม และตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย

ประเมินตนเอง

เข้าเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในห้องและการทำงานในกลุ่ม

ประเมินสภาพห้องเรียน

ห้องเรียนสะอาดเรียบร้อย อุปกรณ์ใช้ได้อย่างดี

วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนวันอังคารที่ 13 ตุลาคม 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่  9
เวลาเรียน 08.30 - 12.00 น.

Knowledge : ความรู้

*  นำเสนอบทความ

บทความเรื่อง  โครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย

                        ( นางสาวสุทธิกานต์  กางพาพันธ์ )

สสวท. ได้เห็นความสำคัญการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตั้งแต่ปฐมวัยโดยได้จัดกิจกรรมบูรณาการให้เด็กเรียนรู้

ผ่านการสืบเสาะ หาความรู้ ความคิดและลงมือแก้ไขปัญหาด้วยประสบการณ์ตรงอย่างเหมาะสม

นักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยจะได้ร่วมกันหาคำตอบจากคำถามที่ว่า "โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร"

จากกิจกรรม หวานเย็นชื่นใจ  เด็กก็จะค้นพบว่าน้ำแข็งเกิดขึ้นจากน้ำ เมื่อนำไปแช่ในน้ำแข็งที่ใส่เกลือที่

มีอุณภูมิต่ำกว่า 0 ํ ทำให้น้ำมีอุณภูมิต่ำลงจนกลายเป็นเกล็ดน้ำแข็ง

กิจกรรมทั้งหมดเน้นการสร้างประสบการณ์จากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวเพื่อให้เด็กเข้าใจเกี่ยวกับโลกที่เรา

อาศัยอยู่จากการทดลองง่าย ๆ

บทความเรื่อง  เด็กอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์บูรณาการจากการล่องแก่ง

                       ( นางสาวศุทธินี  โนนริบูรณ์ )

การจัดกิจกรรมในครั้งนี้เด็กจะได้เรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ วิธีการล่องแก่งอย่างปลอดภัย และรู้จัก

อุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันอันตรายในการล่องแก่ง กิจกรรมนี้ผู้ปกครองยังได้ร่วมทำกิจกรรมกับเด็ก ๆ

นอกจากสนุกสนานแล้ว เด็กยังจะได้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เช่น การตั้งคำถาม

การคาดคะเน การสังเกต และลงความคิดเห็น ทำให้เกิดการเรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้อย่างง่าย ๆ

ที่สำคัญคือได้ตระหนักถึงคุณค่าแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

บทความเรื่อง  สอนลูกเรื่องแม่เหล็ก

                       ( นางสาวเจนจิรา  เทียมนิล )

การจัดการเรียนรู้เรื่องแม่เหล็กให้กับเด็กจะเป็นเรื่องที่ท้าทายให้เด็กสนใจติดตามและทดลอง ถึงแม้เด็ก

จะมองไม่เห็นแรงของแม่เด็กได้ แต่เด็กจะรับรู้จากผลของการกระทำของแม่เหล็ก ดังนั้นแม่เหล็กจึงเป็น

เรื่องแปลกสำหรับเด็ก ชวนให้เด็กตื่นเต้นและเร้าใจได้เป็นอย่างดีสอดคล้องกับธรรมชาติที่เด็กนั้นอยากรู้

อยากเห็น

*  กิจกรรมในห้องเรียน

อาจารย์ให้ไปนำสิ่งประดิษฐ์ของเพื่อน ๆ มาเพื่อนำมาดูว่าในเรื่องเดียวกันเราสามารถสร้างของเล่น

วิทยาศาสตร์ด้วยวิธีการที่หลากหลายแล้วนำมานำเสนอกับสิ่งที่เราไปหยิบมา

ของเล่นที่หยิบมาคือ ว่าว เป็นเรื่อง ลม



       หลักการทางวิทยาศาสตร์ ที่ว่าวลอยได้ เพราะ ลมมาปะทะด้านหน้าของว่าวทำให้เกิดแรงดัน

ว่าวจะค่อย ๆ ลอยขึ้นไปบนฟ้า ส่วนหางมีไว้เพื่อรักษาความสมดุลไม่ให้ว่าวลอยสะเปะสะปะ

นำเสนอตามหน่วยการเรียนรู้ที่ได้รับมอบหมายแต่ละกลุ่ม

1. หน่วยเรื่อง ตัวเรา  การทดลอง = เพื่อนทำลูกโป่งถูกับผม

                                 ของเล่นตามมุม = ให้เด็กติดอวัยวะต่าง ๆ บนตัวเรา

                                 ของเล่นวิทยาศาสตร์ = ตุ๊กตาล้มลุก

2. หน่วยเรื่อง ยานพาหนะ การทดลอง = การทดลองจรวดกล่องฟิลม์

                                         ของเล่นตามมุม = รถแม่เหล็ก

                                         ของเล่นวิทยาศาสตร์ = จรวดกาแฟ

3. หน่วยเรื่อง ต้นไม้แสนรัก การทดลอง =  ฉันเกิดที่ใดได้บ้าง

                                           ของเล่นตามมุม = ไม่ได้นำเสนอเนื่องจากเพื่อนเข้าใจผิด

                                           ของเล่นวิทยาศาสตร์ = วงจรเคลื่อนที่

4. หน่วยเรื่อง ชุมชน การทดลอง = แรงตึงผิวของน้ำ

                                 ของเล่นตามมุม = ไม่ได้นำเสนอเนื่องจากซ้ำกับเพื่อนกลุ่มอื่น

                                 ของเล่นวิทยาศาสตร์ =

5. หน่วยเรื่อง น้ำ การทดลอง = เรือขนไข่

                           ของเล่นตามมุม = ไม่ได้นำเสนอเนื่องจากเพื่อนเข้าใจผิด

                           ของเล่นวิทยาศาสตร์ = ทะเลในขวด

Skills : ทักษะ

- การตอบคำถาม การตั้งคำถาม การใช้คำถาม ถาม - ตอบ

- การคิดหลักการและเหตุผลทางวิทยาศาสตร์

- ได้วิธีการทำสิ่งประดิษฐ์ที่หลากหลาย

Apply : การนำไปใช้

-  ใน 1 เรื่องสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย

-  สามารถนำหน่วยการเรียนรู้ที่เพื่อนนำเสนอไปใช้ในอนาคตได้

- สามารถนำข้อเสนอแนะ คำแนะนำ จากเพื่อนและอาจารย์ไปใช้ปรับปรุงและแก้ไข

Evaluation : การประเมิน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา  เตรียมตัวมาสอนอย่างเต็มที่ ให้ความรู้ในสิ่งที่ยากให้เข้าใจง่ายขึ้น

ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน

เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยและให้ความร่วมมือในการตอบถามอย่างดี

ประเมินตนเอง

เข้าเรียนตรงเวลา  ตั้งใจฟังในสิ่งที่เพื่อนนำเสนอ

ประเมินสภาพห้องเรียน

ห้องเรียนสะอาด แอร์เย็นสบาย

วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนวันอังคารที่ 6 ตุลาคม 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่  8
เวลาเรียน 08.30 - 12.00 น.
Knowledge : ความรู้

* นำเสนอโทรทัศน์ครู

โทรทัศน์ครูเรื่อง  กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก

                            ( นางสาวเวรุวรรณ ชูกลิ่น )

การสอนวิทยาศาสตร์ในวิดีโอจะกระตุ้นโดยใช้ของเล่น ครูเป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้นเอง



ตัวอย่างที่  1  แรงลอยตัว : โดยประดิษฐ์นักดำน้ำจากหลอดกาแฟ

เมื่อเราบีบขวดความดันในขวดเพิ่มขึ้น และน้ำเข้าไปแทนที่อากาศในหลอดกาแฟทำให้นักดำน้ำจมลง

เมื่อเราปล่อยขวดความดันในขวดลดลง อากาศในหลอดก็จะขยายตัวทำให้หลอดลอยขึ้น



ตัวอย่างที่  2  ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วของอากาศและความดันของอากาศ : 

โดยประดิษฐ์เลี้ยงลูกด้วยลม เมื่อเราเป่าลมเข้าไปด้านล่างของหลอด ลมก็จะไหลไปด้านบนทำให้มี

แรงผลักอยู่รอบ ๆ บริเวณลูกบอลที่มีลมเป่าขึ้น


ตัวอย่างที่  3  ถุงพลาสติกมหัศจรรย์

ทดลองโดยการนำถุงพลาสติกใส่น้ำแล้วใช้ดินสอแทงถุงจะเห็นได้ว่าถุงไม่แตกและไม่มีน้ำไหล

เนื่องจากเนื้อพลาสติกมีโครงสร้างเป็นตาข่ายที่ขยายกว้างขึ้นจะรวบติดกับตัวดินสอทำให้น้ำไม่สามารถ

ไหลออกมาได้


ตัวอย่างที่  4  ความดันยกของ  คุณครูเริ่มกิจกรรมโดยการใช้คำถามให้เด็กได้คิดว่าเราจะสามารถ

ยกสมุดได้อย่างไร  จากนั้นครูจะช่วยเชื่อมโยงให้ใกล้เคียงกับความจริงโดยวางถุงพลาสติกลงบนโต๊ะ

แล้วสาธิตให้เด็ก ๆ ดู หลังจากนั้นให้เด็กได้ทดลองด้วยตนเอง และเปลี่ยนสิ่งของไปเรื่อย ๆ

โทรทัศน์ครูเรื่อง  โครงการบ้านวิทยาศาสตร์หนูน้อย

                            ( นางสาวภัทรวรรณ  หนูแก้ว )

บ้านวิทยาศาสตร์หนูน้อย จัดการเรียนการสอนทดลองวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กอนุบาลในโครงการ

บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เพื่อส่งเสริมให้น้องอนุบาลได้รู้จักคิด ชังสังเกตและคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล

ตัวอย่างการทดลองตัวทำละลาย ในการทดลองครูจะถามเด็ก ๆ ว่าอุปกรณ์ที่วางอยู่เรียกว่าอะไร

และถามถึงประสบการณ์เดิมของเด็กให้เด็กได้อธิบาย จากนั้นเริ่มการทดลอง โดยมีเกลือ น้ำตาล

และทราย และจะให้เด็กสังเกตว่าทั้ง 3 อย่างนี้มีตัวไหนสามารถละลายน้ำได้บ้าง ให้เด็กตอบ ครูจะเป็น

ผู้เฉลยหลังจากที่เด็กได้ตอบคำถามแล้ว

ตัวอย่างการทดลองจมหรือลอย  โดยมีทดลองแยกเป็น 2 ส่วน คือ น้ำกับน้ำมัน และทรายกับน้ำตาล

และน้ำ แล้วจึงตั้งคำถามว่าทำไมน้ำมันถึงลอยน้ำได้ แต่ทำไมทรายและน้ำตาลถึงจมน้ำ

* กิจกรรมในห้องเรียน...

แบ่งกลุ่มตามสาระการเรียนรู้

1. ตัวเด็ก

2. สถานที่

3. บุคคลและสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก

4. ธรรมชาติรอบตัว

นำสาระการเรียนรู้มาเชื่อมโยงเข้ากับกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อนำไปจัดหน่วยการ

เรียนรู้ให้กับเด็ก

กรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีทั้งหมด 8 สาระ

สาระที่ 1 : สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต

สาระที่ 2 : ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

สาระที่ 3 : สารและสมบัติของสาร

สาระที่ 4 : แรงและการเคลื่อนที่

สาระที่ 5 : พลังงาน

สาระที่ 6 : กระบวนการเปลี่ยนแปลงโลก

สาระที่ 7 : ดาราศาสตร์และอวกาศ

สาระที่ 8 : ธรรมชาติวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

Skills : ทักษะ

- การทำมายแมปเพื่่อโยงความรู้ที่เราจะไปสอนเด็กในหน่วยการเรียนรู้

- การเลือกหน่วยการเรียนรู้ให้สัมพันธ์กันระหว่างกรอบมาตรฐานและสาระการเรียนรู้

Apply : การนำไปใช้

- สามารถนำไปใช้เลือกหน่วยการเรียนรู้ให้กับเด็กในอนาคตให้ได้รับความรู้ในสิ่งที่เด็กควรได้รับ

- นำไว้ใช้เป็นหลักในการเรียนหรือการเขียนแผนการสอนควรเริ่มอย่างไร

Evaluation : การประเมิน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์มาเข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ และตั้งคำถามให้นักศึกษาได้คิดตลอดเวลา

ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน

แต่งกายสุภาพ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและตอบคำถามในห้องเรียน

ประเมินตนเอง

เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

ประเมินสภาพห้องเรียน

อุปกรณ์ในห้องไม่พร้อม คอมไม่สามารถใช้ได้

สรุปบทความ

สรุปบทความ

เรื่อง  เด็ก ๆ อนุบาลสนุกกับ "สะเต็มศึกษา" ผ่านโครงงานปฐมวัย

จากกระแสความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้เกิดขึ้นอย่างมากมาย รวดเร็วผนวกกับความเปลี่ยนแปลงใน

สังคมและสภาพแวดล้อมทำให้ผู้คนต้องการปรับตัว เพื่อที่จะสามารถดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ได้อย่าง

มีคุณภาพ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ได้ส่งผลต่อกระบวนการด้านการศึกษา ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยน

ไปตามกระแสสังคม

ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำนวยการ สสวท. กล่าวว่า "แนวคิดในเรื่องสะเต็มศึกษานั้นเป็นกระบวนการ

เชิงระบบแบบวิทยาศาสตร์ ที่นำมาเชื่อมโยงในกระบวนการเรียนรู้ การสร้างสรรค์ผลงานหรือชิ้นงานจาก

การคิดค้น การแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ ซึ่งสามารถเตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียน โดยนำสิ่งที่เรียน

รู้ในระบบโรงเรียนไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพได้"

"สำหรับวิธีการจัดกิจกรรมเพื่อดึงดูดใจของเด็กเพื่อให้มีความรู้สึกสนุกในการเรียนรู้และเห็นคุณค่าของ

การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ มีแนวคิดหลัก 5 ข้อ คือ 1.) ครูต้อง

เน้นการบูรณาการ 2.) ครูต้องช่วยให้นักเรียนมีความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาที่กำลัง

เรียนชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ 3.) เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 

4.) ท้าทายความคิดของผู้เรียน และ 5.) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความเข้าใจ

และความคิดเห็นที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน การบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้เข้ากับชีวิตประจำวัน

จะทำให้ผู้เรียนสามารถเห็นความสำคัญและเข้ามาเรียนในสายวิทยาศาสตร์มากขึ้นซึ่งจะช่วยแก้ปัญหา

การขาดกำลังคนในด้านวิทยาศาสตร์ และทำให้คนทั่วไปมีทักษะในด้านวิทยาศาสตร์มากขึ้น"