บันทึกอนุทินครั้งที่ 9
เวลาเรียน 08.30 - 12.00 น.
* นำเสนอบทความ
บทความเรื่อง โครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย
( นางสาวสุทธิกานต์ กางพาพันธ์ )
สสวท. ได้เห็นความสำคัญการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตั้งแต่ปฐมวัยโดยได้จัดกิจกรรมบูรณาการให้เด็กเรียนรู้
ผ่านการสืบเสาะ หาความรู้ ความคิดและลงมือแก้ไขปัญหาด้วยประสบการณ์ตรงอย่างเหมาะสม
นักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยจะได้ร่วมกันหาคำตอบจากคำถามที่ว่า "โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร"
จากกิจกรรม หวานเย็นชื่นใจ เด็กก็จะค้นพบว่าน้ำแข็งเกิดขึ้นจากน้ำ เมื่อนำไปแช่ในน้ำแข็งที่ใส่เกลือที่
มีอุณภูมิต่ำกว่า 0 ํ ทำให้น้ำมีอุณภูมิต่ำลงจนกลายเป็นเกล็ดน้ำแข็ง
กิจกรรมทั้งหมดเน้นการสร้างประสบการณ์จากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวเพื่อให้เด็กเข้าใจเกี่ยวกับโลกที่เรา
อาศัยอยู่จากการทดลองง่าย ๆ
บทความเรื่อง เด็กอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์บูรณาการจากการล่องแก่ง
( นางสาวศุทธินี โนนริบูรณ์ )
การจัดกิจกรรมในครั้งนี้เด็กจะได้เรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ วิธีการล่องแก่งอย่างปลอดภัย และรู้จัก
อุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันอันตรายในการล่องแก่ง กิจกรรมนี้ผู้ปกครองยังได้ร่วมทำกิจกรรมกับเด็ก ๆ
นอกจากสนุกสนานแล้ว เด็กยังจะได้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เช่น การตั้งคำถาม
การคาดคะเน การสังเกต และลงความคิดเห็น ทำให้เกิดการเรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้อย่างง่าย ๆ
ที่สำคัญคือได้ตระหนักถึงคุณค่าแหล่งเรียนรู้ในชุมชน
บทความเรื่อง สอนลูกเรื่องแม่เหล็ก
( นางสาวเจนจิรา เทียมนิล )
การจัดการเรียนรู้เรื่องแม่เหล็กให้กับเด็กจะเป็นเรื่องที่ท้าทายให้เด็กสนใจติดตามและทดลอง ถึงแม้เด็ก
จะมองไม่เห็นแรงของแม่เด็กได้ แต่เด็กจะรับรู้จากผลของการกระทำของแม่เหล็ก ดังนั้นแม่เหล็กจึงเป็น
เรื่องแปลกสำหรับเด็ก ชวนให้เด็กตื่นเต้นและเร้าใจได้เป็นอย่างดีสอดคล้องกับธรรมชาติที่เด็กนั้นอยากรู้
อยากเห็น
* กิจกรรมในห้องเรียน
อาจารย์ให้ไปนำสิ่งประดิษฐ์ของเพื่อน ๆ มาเพื่อนำมาดูว่าในเรื่องเดียวกันเราสามารถสร้างของเล่น
วิทยาศาสตร์ด้วยวิธีการที่หลากหลายแล้วนำมานำเสนอกับสิ่งที่เราไปหยิบมา
ของเล่นที่หยิบมาคือ ว่าว เป็นเรื่อง ลม
หลักการทางวิทยาศาสตร์ ที่ว่าวลอยได้ เพราะ ลมมาปะทะด้านหน้าของว่าวทำให้เกิดแรงดัน
ว่าวจะค่อย ๆ ลอยขึ้นไปบนฟ้า ส่วนหางมีไว้เพื่อรักษาความสมดุลไม่ให้ว่าวลอยสะเปะสะปะ
นำเสนอตามหน่วยการเรียนรู้ที่ได้รับมอบหมายแต่ละกลุ่ม
1. หน่วยเรื่อง ตัวเรา การทดลอง = เพื่อนทำลูกโป่งถูกับผม
ของเล่นตามมุม = ให้เด็กติดอวัยวะต่าง ๆ บนตัวเรา
ของเล่นวิทยาศาสตร์ = ตุ๊กตาล้มลุก
2. หน่วยเรื่อง ยานพาหนะ การทดลอง = การทดลองจรวดกล่องฟิลม์
ของเล่นตามมุม = รถแม่เหล็ก
ของเล่นวิทยาศาสตร์ = จรวดกาแฟ
3. หน่วยเรื่อง ต้นไม้แสนรัก การทดลอง = ฉันเกิดที่ใดได้บ้าง
ของเล่นตามมุม = ไม่ได้นำเสนอเนื่องจากเพื่อนเข้าใจผิด
ของเล่นวิทยาศาสตร์ = วงจรเคลื่อนที่
4. หน่วยเรื่อง ชุมชน การทดลอง = แรงตึงผิวของน้ำ
ของเล่นตามมุม = ไม่ได้นำเสนอเนื่องจากซ้ำกับเพื่อนกลุ่มอื่น
ของเล่นวิทยาศาสตร์ =
5. หน่วยเรื่อง น้ำ การทดลอง = เรือขนไข่
ของเล่นตามมุม = ไม่ได้นำเสนอเนื่องจากเพื่อนเข้าใจผิด
ของเล่นวิทยาศาสตร์ = ทะเลในขวด
Skills : ทักษะ
- การตอบคำถาม การตั้งคำถาม การใช้คำถาม ถาม - ตอบ
- การคิดหลักการและเหตุผลทางวิทยาศาสตร์
- ได้วิธีการทำสิ่งประดิษฐ์ที่หลากหลาย
Apply : การนำไปใช้
- ใน 1 เรื่องสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย
- สามารถนำหน่วยการเรียนรู้ที่เพื่อนนำเสนอไปใช้ในอนาคตได้
- สามารถนำข้อเสนอแนะ คำแนะนำ จากเพื่อนและอาจารย์ไปใช้ปรับปรุงและแก้ไข
Evaluation : การประเมิน
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา เตรียมตัวมาสอนอย่างเต็มที่ ให้ความรู้ในสิ่งที่ยากให้เข้าใจง่ายขึ้น
ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน
เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยและให้ความร่วมมือในการตอบถามอย่างดี
ประเมินตนเอง
เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังในสิ่งที่เพื่อนนำเสนอ
ประเมินสภาพห้องเรียน
ห้องเรียนสะอาด แอร์เย็นสบาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น