บันทึกอนุทินครั้งที่ 8
เวลาเรียน 08.30 - 12.00 น.
Knowledge : ความรู้* นำเสนอโทรทัศน์ครู
โทรทัศน์ครูเรื่อง กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก
( นางสาวเวรุวรรณ ชูกลิ่น )
การสอนวิทยาศาสตร์ในวิดีโอจะกระตุ้นโดยใช้ของเล่น ครูเป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้นเอง
ตัวอย่างที่ 1 แรงลอยตัว : โดยประดิษฐ์นักดำน้ำจากหลอดกาแฟ
เมื่อเราบีบขวดความดันในขวดเพิ่มขึ้น และน้ำเข้าไปแทนที่อากาศในหลอดกาแฟทำให้นักดำน้ำจมลง
เมื่อเราปล่อยขวดความดันในขวดลดลง อากาศในหลอดก็จะขยายตัวทำให้หลอดลอยขึ้น
ตัวอย่างที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วของอากาศและความดันของอากาศ :
โดยประดิษฐ์เลี้ยงลูกด้วยลม เมื่อเราเป่าลมเข้าไปด้านล่างของหลอด ลมก็จะไหลไปด้านบนทำให้มี
แรงผลักอยู่รอบ ๆ บริเวณลูกบอลที่มีลมเป่าขึ้น
ตัวอย่างที่ 3 ถุงพลาสติกมหัศจรรย์
ทดลองโดยการนำถุงพลาสติกใส่น้ำแล้วใช้ดินสอแทงถุงจะเห็นได้ว่าถุงไม่แตกและไม่มีน้ำไหล
เนื่องจากเนื้อพลาสติกมีโครงสร้างเป็นตาข่ายที่ขยายกว้างขึ้นจะรวบติดกับตัวดินสอทำให้น้ำไม่สามารถ
ไหลออกมาได้
ตัวอย่างที่ 4 ความดันยกของ คุณครูเริ่มกิจกรรมโดยการใช้คำถามให้เด็กได้คิดว่าเราจะสามารถ
ยกสมุดได้อย่างไร จากนั้นครูจะช่วยเชื่อมโยงให้ใกล้เคียงกับความจริงโดยวางถุงพลาสติกลงบนโต๊ะ
แล้วสาธิตให้เด็ก ๆ ดู หลังจากนั้นให้เด็กได้ทดลองด้วยตนเอง และเปลี่ยนสิ่งของไปเรื่อย ๆ
โทรทัศน์ครูเรื่อง โครงการบ้านวิทยาศาสตร์หนูน้อย
( นางสาวภัทรวรรณ หนูแก้ว )
บ้านวิทยาศาสตร์หนูน้อย จัดการเรียนการสอนทดลองวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กอนุบาลในโครงการ
บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เพื่อส่งเสริมให้น้องอนุบาลได้รู้จักคิด ชังสังเกตและคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล
ตัวอย่างการทดลองตัวทำละลาย ในการทดลองครูจะถามเด็ก ๆ ว่าอุปกรณ์ที่วางอยู่เรียกว่าอะไร
และถามถึงประสบการณ์เดิมของเด็กให้เด็กได้อธิบาย จากนั้นเริ่มการทดลอง โดยมีเกลือ น้ำตาล
และทราย และจะให้เด็กสังเกตว่าทั้ง 3 อย่างนี้มีตัวไหนสามารถละลายน้ำได้บ้าง ให้เด็กตอบ ครูจะเป็น
ผู้เฉลยหลังจากที่เด็กได้ตอบคำถามแล้ว
ตัวอย่างการทดลองจมหรือลอย โดยมีทดลองแยกเป็น 2 ส่วน คือ น้ำกับน้ำมัน และทรายกับน้ำตาล
และน้ำ แล้วจึงตั้งคำถามว่าทำไมน้ำมันถึงลอยน้ำได้ แต่ทำไมทรายและน้ำตาลถึงจมน้ำ
* กิจกรรมในห้องเรียน...
แบ่งกลุ่มตามสาระการเรียนรู้
1. ตัวเด็ก
2. สถานที่
3. บุคคลและสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก
4. ธรรมชาติรอบตัว
นำสาระการเรียนรู้มาเชื่อมโยงเข้ากับกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อนำไปจัดหน่วยการ
เรียนรู้ให้กับเด็ก
กรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีทั้งหมด 8 สาระ
สาระที่ 1 : สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
สาระที่ 2 : ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
สาระที่ 3 : สารและสมบัติของสาร
สาระที่ 4 : แรงและการเคลื่อนที่
สาระที่ 5 : พลังงาน
สาระที่ 6 : กระบวนการเปลี่ยนแปลงโลก
สาระที่ 7 : ดาราศาสตร์และอวกาศ
สาระที่ 8 : ธรรมชาติวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
Skills : ทักษะ
- การทำมายแมปเพื่่อโยงความรู้ที่เราจะไปสอนเด็กในหน่วยการเรียนรู้
- การเลือกหน่วยการเรียนรู้ให้สัมพันธ์กันระหว่างกรอบมาตรฐานและสาระการเรียนรู้
Apply : การนำไปใช้
- สามารถนำไปใช้เลือกหน่วยการเรียนรู้ให้กับเด็กในอนาคตให้ได้รับความรู้ในสิ่งที่เด็กควรได้รับ
- นำไว้ใช้เป็นหลักในการเรียนหรือการเขียนแผนการสอนควรเริ่มอย่างไร
Evaluation : การประเมิน
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
อาจารย์มาเข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ และตั้งคำถามให้นักศึกษาได้คิดตลอดเวลา
ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน
แต่งกายสุภาพ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและตอบคำถามในห้องเรียน
ประเมินตนเอง
เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
ประเมินสภาพห้องเรียน
อุปกรณ์ในห้องไม่พร้อม คอมไม่สามารถใช้ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น