วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนวันอังคารที่ 27 ตุลาคม 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่  11
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น.

Knowledge : ความรู้

กิจกรรมที่ 1  ตัดกระดาษเป็นดอกไม้ แล้วระบายสี

                    จับกลุ่ม 5-6 คน ตัดรูปดอกไม้แล้วระบายสีแล้วพับให้มันเป็นก้อน ๆ  นำมาลอยงในน้ำ

(ให้สังเกตการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเพื่อนทุกคนในกลุ่มแล้วจดบันทึกและสังเกตการเปลี่ยนแปลง

ของดอกไม้)







กิจกรรมที่ 2 ให้ทายว่าถ้าเปิดรูไหนน้ำจะไหลไปได้ไกลที่สุด

                    ปิดรูที่ขวดทั้งหมด 3 รู แล้วเติมน้ำให้เต็มขวด หลังจากนั้นให้เด็ก ๆ ทายสิว่า

ถ้าคุณครูเปิดรูไหนแล้วน้ำจะพุ้งไปไกลกว่ากัน

ครั้งที่ 1 ครูเปิดทีละรู ปรากฏว่ารูตรงกลางพุ้งแรงกว่า

ครั้งที่ 2 ครูเปิดพร้อมกันหมดเลย ปรากฏว่ารูตรงกลางมีน้ำพุ้งแรงกว่าทุกรู เป็นเพราะรูตรงกลางมีแรงดัน

             มากกว่า



กิจกรรมที่ 3 ทดลองน้ำพุ ตั้งสมมุติฐานว่าถ้าเทน้ำลงในขวดให้เต็มจะเกิดอะไรขึ้น






เมื่อเทน้ำลงในขวดจนเต็ม น้ำก็จะไหลตามสายยางเกิดเป็นน้ำพุพุ่งขึ้นมา



แต่เมื่อลองปิดปากขวด น้ำพุก็จะหยุดไหล
















กิจกรรมที่ 4 ลูกยาง ครูแจกอุปกรณ์ให้ 2 อย่าง คือ กระดาษ และคิปหนีบกระดาษ แล้วนำมาพับแล้วเอา

คิปหนีบตามรูป  จากนั้นนำมาปล่อยแข่งกันว่าของใครจะสามารถอยุ่บนอากาศได้นานกว่ากัน พร้อม

สังเกตของเพื่อนที่อยู่ได้นาน แล้วมาปรับปรุงของตัวเอง



กิจกรรมที่ 5 ไหมพรหมเต้นระบำ ครูแจกอุปกรณ์หลอดและไหมพรหม นำมาร้อยใส่กันตามรูป

วิธีการเล่น  นำมาเป่าตรงหลอดไหมพรหมก็จะเต้นระบำตามลมที่เป่า



กิจกรรมที่ 6 การทดลองเรื่องเทียนไข



หาคำตอบต่อจากในห้อง

* สาเหตุที่เทียนไขดับ เหตุผลเพราะ  ออกซิเจนช่วยให้ไฟติดจะพบว่าเมื่อเราใช้แก้วครอบเทียนไข 

ลักษณะของเปลวไฟจะค่อย ๆ หรี่ลง จนในที่สุดเทียนไขจะดับ เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะอากาศมี

ออกซิเจนอยู่ ซึ่งออกซิเจนมีคุณสมบัติในการติดไฟ เมื่อเราครอบแก้วลงไป เทียนไขจะสามารถส่อง

สว่างต่อไปได้อีกสักครู่ จนเมื่อออกซิเจนถูกเผาไหม้หมด เทียนไขก็จะดับลงทันที

* สาเหตุที่น้ำด้านนอกสามารถเข้าไปอยู่ภายในแก้วได้ก็เพราะเมื่อออกซิเจน

ที่มีภายในแก้วถูกใช้ในการเผาไหม้จนหมด(เทียนดับ) จึงทำให้ความดันอากาศภายในแก้วมีน้อยกว่า

ภายนอกแก้ว   ความดันอากาศภายนอกจึงดันให้น้ำนอกแก้วไหลเข้าไปในแก้วที่มีความดันอากาศน้อย

กว่านั้นเอง

Skill : ทักษะ

-  การสมมุติฐาน

-  การสังเกต

-  การจดบันทึกพฤติกรรมโดยบันทึกตามที่ตาเห็น

-  การสืบค้นจากแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

Apply : การนำไปใช้

  วิธีการทดลองต่าง ๆ สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนของเด็กในอนาคต

-  สามารถนำสิ่งรอบ ๆ ตัว มาเป็นวิทยาศาสตร์ที่สามารถนำไปสอนได้

-  สามารถนำกิจกรรมในห้องเรียนไปเล่นกับเด็กแล้วเชื่อมโยงถึงวิทยาศาสตร์ได้

Evaluation : การประเมิน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ มีกิจกรรมให้เรียนรู้ที่หลากหลาย และเชื่อมโยงให้เป็น

วิทยาศาสตร์ โดยให้นักศึกษาสามารถเข้าใจได้ง่าย ๆ 

ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน

เพื่อนเข้าเรียนสายบ้างบางคน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม และตั้งใจเรียน

ประเมินตนเอง

เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน  และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

ประเมินสภาพห้องเรียน

สะอาด อุปกรณ์ใช้งานได้ปกติ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น