วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนวันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน 2558

บันทึกอนุทินที่ 15
เวลาเรียน 08.30-12.30 น.

Knowledge : ความรู้

* * นำเสนอบทความ

บทความเรื่อง  หลักสูตรวิทยาศาสตร์จำเป็นหรือไม่

                        (นางสาวรัชดา  เทพเรียน)

สสวท. ได้ดำเนินโครงการเพื่อจัดทำหลักสูตรวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยการออกสำรวจการ

สอน พบว่าครูปฐมวัยส่วนมากใช้วิธีการบอกเล่า การทำวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กมากกว่าให้เด็กได้ลงมือ

ปฎิบัติ ปี 2551 ได้นำกรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์ฉบับใหม่มาทดลอง เด็กจะต้องเรียนรู้แก้ไขปัญหา

อย่างมีเหตุผล

หลักสูตรเก่า : ใช้วิธีการบอกเล่าเนื้อหา  ไม่เหมาะกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก

หลักสูตรใหม่ : ใช้วิธีการให้เด็กลงมือปฏิบัติ เหมาะกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก

บทความเรื่อง  วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                        (นางสาวเปรมมิกา ชุติมาสวรรค์)

เด็กเล็กมีธรรมชาติที่อยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำว่าอย่างไร ทำไม อะไร เด็กสามารถสำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบ

ตัว ชอบสังเกตและแสวงหาความรู้ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มทำงานทางวิทยาศาสตร์ 

เด็กสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้  เช่น การสังเกต การ

จำแนกประเภท การเรียงลำดับ การวัด การคาดคะเน และการสื่อสาร รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้

กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กสนใจวัตถุและเหตุการณ์ เด็กเล็กจะมีวิธีการเรียนรู้คล้ายนักวิทยาศาสตร์

สามารถทำงานด้วยทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์จะช่วยส่งเสริมในการคิดวิเคราะห์

และพัฒนาการทางอารมณ์

บทความเรื่อง การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย

                      (นางสาวชนาภา คปัญญา)

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วม

ในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนใจของเด็ก

และส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและเข้าใจวิทยาศาสตร์

กลุ่ม  สสวท. ร่วมกับกลุ่มนักวิชาการพัฒนากรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยมีหลักใน

การเลือกเนื้อหา 3 ประการดังนี้

1.ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์

2.ความเหมาะสมและพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก

3.สามารถนำไปปฎิบัติได้จริง

เป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ คือ 

1.แสดงความตระหนักเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นผ่านการลงมือปฏิบัติ 

การสำรวจ การสังเกต การตั้งคำถาม และการแลกเปลี่ยนสิ่งที่ค้นพบ

2.ดำเนินการสืบเสาะหาความรู้อย่าง ๆ ด้วยตนเอง อย่างเสรี และตามแบบที่กำหนดให้

3.แสดงความเข้าใจและรู้จักดูแลรักษาธรรมชาติ

4.สืบค้นและสนทนาเกี่ยวกับลักษณะและองค์ประกอบของสิ่งต่างและใช้สิ่งเหล่านั้นได้อย่างปลอดภัย

5.รู้และสามารถใช้สิ่งของที่เป็นเทคโนโลยีอย่างง่าย ๆได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย

6.เพื่อให้มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่าง

   สร้างสรรค์

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยควรส่งเสริมด้านต่าง ๆดังนี้

1.สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก

2.สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถาม

3.ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจ ตรวจสอบ จำแนกสิ่งต่าง ๆ

4.ส่งเสริมกระบวนการคิด

5.ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์

6.ส่งเสริมความสนในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว

7.เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ

ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ระดับปฐมวัย ควรให้เด็กได้ตระหนักถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ต่อไปนี้

1.เราต้องการค้นหาอะไร

2.เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อการค้นหานี้

3.เราเห็นอะไรเกิดขึ้นบ้าง

4.สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้บอกอะไรแก่เราบ้าง

* * นำเสนอวิจัย

วิจัยเรื่อง  การพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรม

ศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้   (นางสาวประภัสสร คำบอนพิทักษ์)

วัตถุประสงค์ 

1. เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด

ประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย ก่อน-หลัง การจัดประสบการณ์

โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

สมมุติฐาน

เด็กปฐมวัยที่ได้การจัดกิจกรรมและศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีการพัฒนาทักษะกระบวนการ

วิทยาศาสตร์หลังจากการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง

กลุ่มตัวอย่าง เด็กอายุ 5-6 ปี

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ

1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ จำนวน 24 เรื่อง รถ ผลไม้ อาหาร เวลา

2. แบบการประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย

วิจัยเรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการ

ทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน  (นางสาวจงรักษ์ หลาวเหล็ก)

ความมุ่งหมาย

1. ระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์

นอกห้องเรียน

2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย ก่อน-หลังได้รับกิจกรรมวิทยาศาสตร์

นอกห้องเรียน

ขอบเขตการวิจัย    ประชากรเด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี

ตัวแปลที่ใช้ในการศึกษา

1. ตัวแปลอิสระ  ได้แก่ กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

2. ตัวแปลตาม    ได้แก่ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า

1. แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในกิจกรรมวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

2. แบบทดสอบในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย

   2.1 การจัดหมวด

   2.2 การหาความสัมพันธ์

จากการที่เด็กได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนสังเกตพฤติกรรมต่าง ๆ ดังนี้

1. เด็กให้ความร่วมมือและกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม เพราะเด็กมีความอยากรู้อยากเห็น 

เด็กพบสิ่งใหม่ ๆ ทำให้เกิดการกระตุ้น

2. เนื่องจากลักษณะของการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เด็กจะได้เรียนรู้ผ่านประสาท

สัมผัสทั้ง 5 โดยอยู่ในพื้นฐานข้อปฏิบัติออกไปเรียนนอกห้อง ทำให้เด็กเรียนรู้จักรักษ์ธรรมชาติ

* * นำเสนอโทรทัศน์ครู

โทรทัศน์ครูเรื่อง พัฒนาการการสังเกตเป็นพื้นฐานที่สำคัญทางวิทยาศาสตร์

ไข่และน้ำมัน

-  ครูร้องเพลง "ไก่ย่างถูกเผา" เพื่อนำเข้ากิจกรรม 

ครูให้เด็กสังเกตไข่ที่ครูนำมา 2 ใบ แล้วตั้งคำถามว่าถ้าคุณครูโยนจะเกิดอะไรขึ้น 

เมื่อคุณครูโยน ปรากฎว่าไข่ร้าว เด็กจึงบอกว่า ที่ร้าวเพราะไข่นั้นเป็นไข่ต้ม

- น้ำมัน ครูให้เด็ก ๆ สังเกตน้ำมัน 2 ชนิด สังเกตสี และกลิ่น

จากนั้นครูให้เด็ก ๆ นำน้ำมันพืชทาลงบนกระดาษ 1 แผ่น แล้วสังเกต ต่อไปนำน้ำมันหมูทาลงบนกระดาษ

แล้วสังเกต จากนั้นนำ 2 แผ่นมาเปรียบเทียบกัน ว่ามีอะไรเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร

Skill : ทักษะ

- การนำเสนองาน

- การสรุป

Apply : การนำไปใช้

- การนำความรู้ในบทความ  โทรทัศน์ครู และกิจกรรมในงานวิจัย มาประยุกต์ใช้

Evaluation : การประเมิน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งการเรียบร้อย ให้ความรู้อย่างเต็มที่

ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน

เพื่อน ๆ ตั้งใจฟังเพื่อน ๆ นำเสนอ แต่มีคุยกันบ้าง ๆ เวลา

ประเมินตนเอง

ตั้งใจฟังและตอบคำถามที่อาจารย์ถาม

ประเมินสภาพห้องเรียน

อุปกรณ์พร้อมใช้งาน ห้องสะอาดเรียบร้อย

วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

สรุปวิจัย (Research)

สรุปResearch

วิจัยเรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการ

วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน  

(ผู้ทำวิจัย  สุมาลี หมวดไธสง) ปี 2554

ความสำคัญของการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของ

เด็กปฐมวัย  โดยได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน และเป็นแนวทาง

ในการใช้วิธีการสอนและการจัดกิจกรรมให้ดู และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยนำไปพัฒนาทักษะ

ด้านอื่น ๆ ให้แก่เด็ก ต้องเป็นการส่งเสริมพัฒนาการและศักยภาพของเด็กปฐมวัยต่อไป


ขอบเขต เด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี ศึกษาชั้นอนุบาล 3 

ตัวแปลอิสระ ได้แก่ กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

ตัวแปลตาม   ได้แก่ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์

                                1. การจัดหมวดหมู่

                                2. การหาความสัมพันธ์

คู่มือการใช้แผนการสอน 

ยกตัวอย่าง แผนการสอนในสัปดาห์ที่ 1





ภาพกิจกรรมของเด็ก ๆ

เมื่อสอนตามแผนครบทุกสัปดาห์ ก็จะให้เด็ก ๆ ทำแบบทดสอบ



 ยกตัวอย่าง แบบทดสอบ




วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนวันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น.

Knowledge : ความรู้

* ลงมือปฏิบัติตามแผนการสอน Cooking (วันนี้กลุ่มดิฉันเป็นนักเรียน)

   กลุ่มที่นำเสนอสอนทำ Cooking มีดังนี้

  1. ข้าวจี้ เป็นอาหารที่นิยมทานเล่นในภาคอีสานช่วง ฤดูหนาว (ทำเป็นกลุ่ม)

               ขั้นตอนการทำปั้นข้าวเหนียวให้แบน ๆ ใส่ใส แล้วม้วนเข้าไม้เพื่อนำไปปิ้งไฟ ก่อนนำไปปิ้งไงฟ  
               คุณครูตั้งคำถามกับเด็กว่า "ถ้าคุณครูทาไข่ จะทำอย่างไรให้ไข่สุก" จากนั้นทาไข่แล้วนำไปปิ้ง

               ให้เด็ก ๆ สังเกตการเปลี่ยนแปลงร่วมกัน

     






2. หวานเย็น  จัดอยู่ในประเภทเครื่องดื่มที่มีเกล็ดน้ำแข็ง (ทำเป็นกลุ่ม)

                     ขั้นตอนการทำนำน้ำแข็งก้อนเล็ก ๆ ผสมเกลือในกะละมัง แล้วนำเอาภาชนะแสตนเลตมา      
                     ใส่น้ำแล้วหมุนด้านบน พอเทน้ำเสร็จคุณครูควรตั้งปัญหา เช่น ถ้าเราอยากให้น้ำกลายเป็น

                     เกล็ดน้ำแข็งควรทำอย่างไร จากนั้นนำพายคนไปเรื่อย ให้เด็ก ๆ ร่วมกันสังเกตการ

                     เปลี่ยนแปลง









3. ขนมโค  เป็นขนมหวานของไทย (ทำเป็นฐาน)

                  ขั้นตอนการทำนำแป้งมาใส่สีผสมอาหาร (ถ้าทำกับเด็กควรใช้สีจากธรรมชาติ) แล้วนวดให้

                  เข้ากันจากนั้นนำไปใส่ใสแล้วปั้นตามจินตนาการ คุณครูตั้งปัญหา ว่าถ้าจะทำให้แป้งสุกควร

                  ทำอย่างไร จากนั้นเด็ก ๆ ร่วมกันสังเกตการเปลี่ยนแปลง









* ความรู้เพิ่มเติม "จดหมายที่ส่งถึงผู้ปกครอง เรียกว่า สารสัมพันธ์ถึงผู้ปกครอง"

* นำเสนอโทรทัศน์ครู

   โทรทัศน์ครูเรื่อง  ดินน้ำมันลอยน้ำได้อย่างไร ?

                               ( นางสาวกมลรัตน์  มาลัย )

    เป็นการสอนที่เน้นกระบวนการสังเกต คิดวิเคราะห์ สร้างความสนใจให้กับเด็กโดยการให้เด็กไปเก็บ

สิ่งของต่าง ๆ รอบโรงเรียนแล้วนำมาจำแนกแบ่งว่าอะไรลอยน้ำได้หรือไม่ได้ แล้วนำมาทดลอง มีเด็กใน

ห้องคนหนึ่งได้หยิบดินน้ำมันขึ้นมาแล้วนำไปลอยน้ำ ปรากฏว่ามันจม เด็กจึงสงสัยว่าจะทำอย่างไรให้ดิน

น้ำมันลอยน้ำได้ ครูจึงแจกใบงานให้เด็ก ๆ ออกแบบว่าจะปั้นอย่างไรให้ดินน้ำมันลอย เด็กบางคนมีความ

รู้เดิมจากการเห็นเรือสามารถลอยน้ำได้ ก็ออกแบบคล้าย ๆ กับเรือแล้วนำไปทดลอง

จากกิจกรรมเด็ก ๆ ก็จะได้ทักษะการสังเกต สี รูปทรงของดินน้ำมัน และได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

Skill : ทักษะ

- การตั้งคำถามกับเด็ก

- ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ควรสร้างปัญหา แล้วตั้งสมมุติฐาน จากนั้นทดลอง แล้วสรุป

- ทักษะการทำ Cooking

- ทักษะการทำอย่างเป็นลำดับขั้นตอน

Apply : การนำไปใช้

- สามารถนำกิจกรรมการเรียนการสอนไปสอนเด็ก ๆ ในอนาคตได้

- สามารถนำวิธีการทำ Cooking ไปทำกินได้

- สามารถนำวิธีหรือกระบวนการต่าง ๆ ไปประยุกต์ใช้ในการทำแผนการสอนอื่น ๆ

Evaluation : การประเมิน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

เข้าสอนตรงเวลา  อาจารย์สรุปขั้นตอนและวิธีการสอนให้อย่างละเอียดอีกครั้งว่าครวทำอย่างไร

ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน

เพื่อน ๆ มีการเตรียมความพร้อมและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

ประเมินตนเอง

มาเรียนตรงเวลามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมที่เพื่อน ๆ จัดทุกกลุ่ม

ประเมินสภาพห้องเรียน

สภาพห้องเรียนอาจจะไม่เอื้ออำนวยต่อการทำ Cooking เท่าไร

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนวันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น.
Knowledge : ความรู้

*  ลงมือปฎิบัติตามแผนการสอน Cooking กลุ่มดิฉันได้รับมอบหมายทำแผน Cooking เรื่องทาโกยากิ

ทาโกยากินั้นเป็นอาหารทานเล่น ที่นิยมทานกันในปัจจุบัน

วิธีการสอนทำเป็นฐานมีทั้งหมด 5 ฐาน โดยให้เพื่อนกลุ่มขนมโคเป็นเด็กนักเรียน

อุปกรณ์ในการทำ "ทาโกยากิ"
















                                                                                    
                                                                ฐานที่ 1 ให้เด็ก ๆ ตักข้าวใส่ถ้วยของตัวเอง 3 ช้อน

                    
ฐานที่ 2 ให้เด็ก ๆ ตรองไข่แล้วตักไข่ด้วยตนเอง



















ฐานที่ 2 ให้เด็กหันผักและปูอัดและปรุงรสด้วย

ตนเอง













ฐานที่ 4  ครูใช้คำถามถ้าทาโกยากิ โดนความร้อนจากเตาแล้ว

จะเป็นอย่างไร ?

ให้เด็กลงมือทำแล้วสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้น 













ฐานที่ 5 ตกแต่งทาโกยากิให้สวยงาม โดยโรยสาหร่าย

และมายยองเนส















* เพื่อนหน่วยต้นไม้แสนรักทำ Cooking เรื่อง วอฟเฟิล 




ภาพสำเร็จ "ทาโกยากิ และ วอฟเฟิล



Skill : ทักษะ

- ทักษะการทำที่เป็นลำดับขั้นตอน

- ทักษะการสังเกตการเปลี่ยนแปลง

- การแก้ไขปัญหา 

- ได้ทักษะทางวิทยาศาสตร์

Apply : การนำไปใช้

- การใช้คำถาม เช่นการตั้งปัญหาก่อนการลงมือปฎิบัติกิจกรรม

- การนำลำดับขั้นตอนต่าง ๆ ไปใช้ 

- การทำ Cooking

Evaluation : การประเมิน

การประเมินอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ให้ความรู้อย่างเต็มที เตรียมวัสถุดิบให้

การประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน

เพื่อนเตรียมอุปกรณ์ที่ได้รับมอบหมายมาพร้อม ตั้งใจทำกิจกรรมอย่างเต็มทีและสนุกสนาน

การประเมินตนเอง

ร่วมทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน ตั้งใจ แต่งกายถูกระเบียบ

การประเมินสภาพห้องเรียน

สภาพห้องวันนี้อาจไม่เอื้ออำนวยต่อการทำ Cooking เท่าไร 

บันทึกการเรียนวันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่  12
เวลาเรียน 08.30 - 12.30

knowledge : ความรู้

* อาจารย์ตรวจแผนของแต่ละกลุ่มตามหน่วย ดังนี้

   1. หน่วยร่างกายของฉัน
 
   2. หน่วยยานพาหนะ

   3. หน่วยชุมชนของฉัน

   4. หน่วยต้นไม้แสนรัก

   5. หน่วยน้ำ

เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขแล้วนำมาสอนในการทำ Cooking ในสัปดาห์ถัดไป

* แผนการสอน Cooking


* แผนการสอนการทดลอง










Skill : ทักษะ

-  การวิเคาระห์แผนให้เข้าออกมาเข้าใจง่ายที่สุด

-  การระดมความคิดในการแก้ไขแผน

Apply : การนำไปใช้

-  สามารถนำเอาแผนการสอนไปใช้ในการสอนต่อไป

-  นำเอาวิธีการวิเคราะห์แผน กระบวนการต่าง ๆ ไปใช้

Evaluation : การประเมิน

การประเมินอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา สอนให้นักศึกษาเข้าใจแกนของการสอนวิทยาศาสตร์

การประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน

เพื่อน ๆ ตั้งใจฟังและให้ความร่วมมือ

การประเมินตนเอง

ตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม

การประเมินสภาพห้องเรียน

ห้องเรียนสะอาดเรียบร้อย

วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนวันอังคารที่ 27 ตุลาคม 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่  11
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น.

Knowledge : ความรู้

กิจกรรมที่ 1  ตัดกระดาษเป็นดอกไม้ แล้วระบายสี

                    จับกลุ่ม 5-6 คน ตัดรูปดอกไม้แล้วระบายสีแล้วพับให้มันเป็นก้อน ๆ  นำมาลอยงในน้ำ

(ให้สังเกตการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเพื่อนทุกคนในกลุ่มแล้วจดบันทึกและสังเกตการเปลี่ยนแปลง

ของดอกไม้)







กิจกรรมที่ 2 ให้ทายว่าถ้าเปิดรูไหนน้ำจะไหลไปได้ไกลที่สุด

                    ปิดรูที่ขวดทั้งหมด 3 รู แล้วเติมน้ำให้เต็มขวด หลังจากนั้นให้เด็ก ๆ ทายสิว่า

ถ้าคุณครูเปิดรูไหนแล้วน้ำจะพุ้งไปไกลกว่ากัน

ครั้งที่ 1 ครูเปิดทีละรู ปรากฏว่ารูตรงกลางพุ้งแรงกว่า

ครั้งที่ 2 ครูเปิดพร้อมกันหมดเลย ปรากฏว่ารูตรงกลางมีน้ำพุ้งแรงกว่าทุกรู เป็นเพราะรูตรงกลางมีแรงดัน

             มากกว่า



กิจกรรมที่ 3 ทดลองน้ำพุ ตั้งสมมุติฐานว่าถ้าเทน้ำลงในขวดให้เต็มจะเกิดอะไรขึ้น






เมื่อเทน้ำลงในขวดจนเต็ม น้ำก็จะไหลตามสายยางเกิดเป็นน้ำพุพุ่งขึ้นมา



แต่เมื่อลองปิดปากขวด น้ำพุก็จะหยุดไหล
















กิจกรรมที่ 4 ลูกยาง ครูแจกอุปกรณ์ให้ 2 อย่าง คือ กระดาษ และคิปหนีบกระดาษ แล้วนำมาพับแล้วเอา

คิปหนีบตามรูป  จากนั้นนำมาปล่อยแข่งกันว่าของใครจะสามารถอยุ่บนอากาศได้นานกว่ากัน พร้อม

สังเกตของเพื่อนที่อยู่ได้นาน แล้วมาปรับปรุงของตัวเอง



กิจกรรมที่ 5 ไหมพรหมเต้นระบำ ครูแจกอุปกรณ์หลอดและไหมพรหม นำมาร้อยใส่กันตามรูป

วิธีการเล่น  นำมาเป่าตรงหลอดไหมพรหมก็จะเต้นระบำตามลมที่เป่า



กิจกรรมที่ 6 การทดลองเรื่องเทียนไข



หาคำตอบต่อจากในห้อง

* สาเหตุที่เทียนไขดับ เหตุผลเพราะ  ออกซิเจนช่วยให้ไฟติดจะพบว่าเมื่อเราใช้แก้วครอบเทียนไข 

ลักษณะของเปลวไฟจะค่อย ๆ หรี่ลง จนในที่สุดเทียนไขจะดับ เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะอากาศมี

ออกซิเจนอยู่ ซึ่งออกซิเจนมีคุณสมบัติในการติดไฟ เมื่อเราครอบแก้วลงไป เทียนไขจะสามารถส่อง

สว่างต่อไปได้อีกสักครู่ จนเมื่อออกซิเจนถูกเผาไหม้หมด เทียนไขก็จะดับลงทันที

* สาเหตุที่น้ำด้านนอกสามารถเข้าไปอยู่ภายในแก้วได้ก็เพราะเมื่อออกซิเจน

ที่มีภายในแก้วถูกใช้ในการเผาไหม้จนหมด(เทียนดับ) จึงทำให้ความดันอากาศภายในแก้วมีน้อยกว่า

ภายนอกแก้ว   ความดันอากาศภายนอกจึงดันให้น้ำนอกแก้วไหลเข้าไปในแก้วที่มีความดันอากาศน้อย

กว่านั้นเอง

Skill : ทักษะ

-  การสมมุติฐาน

-  การสังเกต

-  การจดบันทึกพฤติกรรมโดยบันทึกตามที่ตาเห็น

-  การสืบค้นจากแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

Apply : การนำไปใช้

  วิธีการทดลองต่าง ๆ สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนของเด็กในอนาคต

-  สามารถนำสิ่งรอบ ๆ ตัว มาเป็นวิทยาศาสตร์ที่สามารถนำไปสอนได้

-  สามารถนำกิจกรรมในห้องเรียนไปเล่นกับเด็กแล้วเชื่อมโยงถึงวิทยาศาสตร์ได้

Evaluation : การประเมิน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ มีกิจกรรมให้เรียนรู้ที่หลากหลาย และเชื่อมโยงให้เป็น

วิทยาศาสตร์ โดยให้นักศึกษาสามารถเข้าใจได้ง่าย ๆ 

ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน

เพื่อนเข้าเรียนสายบ้างบางคน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม และตั้งใจเรียน

ประเมินตนเอง

เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน  และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

ประเมินสภาพห้องเรียน

สะอาด อุปกรณ์ใช้งานได้ปกติ



วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนวันอังคารที่ 20 ตุลาคม 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10 
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น.

Knowledge : ความรู้

*  นำเสนอวิจัย

วิจัยเรื่อง  การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ 

                ชุดแบบฝึกทักษะ   ( นางสาวปรางชมพู  บัวชม )

วิทยาศาสตร์มีบทสำคัญยิ่งในสังคมปัจจุบันและสังคมอนาคต เพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับการดำเนิน

ชีวิตของทุกคน การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล

ตัวแปลต้น :  กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์

ตัวแปลตาม : ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 4 ด้าน

เครื่องมือในการวิจัย :  1. ชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์โดยใช้สมองเป็นฐานการเรียนรู้

                                    2. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สาระตามชุดแบบฝึกทักษะ

                                    3. แบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์

สรุป :  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะจึงเป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดกิจกรรมการเรียน

การสอนที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้ ซึ่งผลการวิจัย

ในครั้งนี้เด็กเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จากการสังเกตขณะทำกิจกรรม

วิจัยเรื่อง  การพัฒนาการเรียนการสอนของครูปฐมวัยโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

                ( นางสาวชนากานต์  แสนสุข )

แผนการเล่นสนุกกับน้ำ  1. ครูเล่านิทานเล่นริมน้ำ แล้วให้เด็ก ๆ ออกมาเล่าประสบการณ์เดิม

                                      2. ให้เด็ก ๆ ลองบีบขวดที่ครูเตรียมไว้ให้

                                      3. ครูให้เด็กยืนเรียงแถวแล้วให้บีบแข่งกันใครไกลหว่ากัน

                                      4. ครูและเด็กร่วมสนทนาถึงความรู้สึก

                                      5. ครูตั้งคำถามว่า "นอกจากขวดแชมพูแล้วเราสามารถใช้อะไรได้อีก"

** ระดมความคิดการทำ Cooking ภายในกลุ่ม

ทำทาโกะยากิ


อุปกรณ์
1.   เตาทาโกะยากิ
2.   แป้งอเนกประสงค์
3.   ปูอัด
4.   กะหล่ำปลี
5.   น้ำมัน
6.   น้ำเปล่า เกลือ น้ำตาล
7.   ไข่ไก่  2 ฟอง
8.   ทาคูมิ
9.   มายยองเนส
วิธีการทำ
1.  วิธีการทำซอสเพื่อจิ้ม เทน้ำครึ่งถ้วยตรงลงในกระทะตั้งไฟ ใส่ทาคุมิลงไป 2 ช้อนโต๊ะ
 น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา รอจนเดือด ใส่แป้งอเนกประสงค์ 1 ช้อนชา เคี่ยวจนเหนียว (พักไว้)
                2.    หั่นปูอัดเป็นลูกเต๋า และสับกะหล่ำปลีให้ละเอียด
              3.   ผสมแป้ง 2 ถ้วยตวง กับไข่ไก่ 2 ฟอง ผสมให้เข้ากัน แล้วเทน้ำเปล่า ½  ถ้วย คนส่วนผสมให้เข้ากันแล้วใส่                    กะหล่ำปลี
              4.      เตรียมเปิดเตา ใส่น้ำมันลงไปในหลุมเล็กน้อยทาให้ทั่ว
              5.     เทแป้งลงในหลุมให้ทั่ว รอให้ผิวทีสัมผัสกับเตาเริ่มสุก ใส่ปูอัดลงไป ค่อย ๆ พลิกอีกข้างมาประกบกันโดย                  ใช้ไม้เสียบลูกชิ้น กลับไปมา ให้ผิวทาโกะยากิเป็นสีน้ำตาล  
              6.     จัดใส่จาน ราดด้วยซอสที่ทำไว้และใส่มายยองเนส หรือมีสาหร่ายผงโรยหน้า
Skills : ทักษะ

-  การเชื่อมโยงเข้ากับวิทยาศาสตร์

-  การตอบคำถาม

-  การะดมความคิดเห็นกันในกลุ่ม

Apply : การนำไปใช้

-  สามารถนำไปใช้ในการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์

Evaluation : การประเมิน

ปรเมินอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมให้ได้คิดตลอด มีคำถามที่หลากหลาย

ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน

เพื่อน ๆ ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม และตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย

ประเมินตนเอง

เข้าเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในห้องและการทำงานในกลุ่ม

ประเมินสภาพห้องเรียน

ห้องเรียนสะอาดเรียบร้อย อุปกรณ์ใช้ได้อย่างดี