บันทึกอนุทินที่ 15
เวลาเรียน 08.30-12.30 น.
Knowledge : ความรู้
* * นำเสนอบทความ
บทความเรื่อง หลักสูตรวิทยาศาสตร์จำเป็นหรือไม่
(นางสาวรัชดา เทพเรียน)
สสวท. ได้ดำเนินโครงการเพื่อจัดทำหลักสูตรวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยการออกสำรวจการ
สอน พบว่าครูปฐมวัยส่วนมากใช้วิธีการบอกเล่า การทำวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กมากกว่าให้เด็กได้ลงมือ
ปฎิบัติ ปี 2551 ได้นำกรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์ฉบับใหม่มาทดลอง เด็กจะต้องเรียนรู้แก้ไขปัญหา
อย่างมีเหตุผล
หลักสูตรเก่า : ใช้วิธีการบอกเล่าเนื้อหา ไม่เหมาะกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก
หลักสูตรใหม่ : ใช้วิธีการให้เด็กลงมือปฏิบัติ เหมาะกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก
บทความเรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(นางสาวเปรมมิกา ชุติมาสวรรค์)
เด็กเล็กมีธรรมชาติที่อยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำว่าอย่างไร ทำไม อะไร เด็กสามารถสำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบ
ตัว ชอบสังเกตและแสวงหาความรู้ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มทำงานทางวิทยาศาสตร์
เด็กสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้ เช่น การสังเกต การ
จำแนกประเภท การเรียงลำดับ การวัด การคาดคะเน และการสื่อสาร รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้
กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กสนใจวัตถุและเหตุการณ์ เด็กเล็กจะมีวิธีการเรียนรู้คล้ายนักวิทยาศาสตร์
สามารถทำงานด้วยทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์จะช่วยส่งเสริมในการคิดวิเคราะห์
และพัฒนาการทางอารมณ์
บทความเรื่อง การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
(นางสาวชนาภา คปัญญา)
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วม
ในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนใจของเด็ก
และส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและเข้าใจวิทยาศาสตร์
กลุ่ม สสวท. ร่วมกับกลุ่มนักวิชาการพัฒนากรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยมีหลักใน
การเลือกเนื้อหา 3 ประการดังนี้
1.ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์
2.ความเหมาะสมและพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก
3.สามารถนำไปปฎิบัติได้จริง
เป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ คือ
1.แสดงความตระหนักเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นผ่านการลงมือปฏิบัติ
การสำรวจ การสังเกต การตั้งคำถาม และการแลกเปลี่ยนสิ่งที่ค้นพบ
2.ดำเนินการสืบเสาะหาความรู้อย่าง ๆ ด้วยตนเอง อย่างเสรี และตามแบบที่กำหนดให้
3.แสดงความเข้าใจและรู้จักดูแลรักษาธรรมชาติ
4.สืบค้นและสนทนาเกี่ยวกับลักษณะและองค์ประกอบของสิ่งต่างและใช้สิ่งเหล่านั้นได้อย่างปลอดภัย
5.รู้และสามารถใช้สิ่งของที่เป็นเทคโนโลยีอย่างง่าย ๆได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
6.เพื่อให้มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่าง
สร้างสรรค์
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยควรส่งเสริมด้านต่าง ๆดังนี้
1.สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก
2.สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถาม
3.ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจ ตรวจสอบ จำแนกสิ่งต่าง ๆ
4.ส่งเสริมกระบวนการคิด
5.ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
6.ส่งเสริมความสนในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว
7.เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ
ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ระดับปฐมวัย ควรให้เด็กได้ตระหนักถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ต่อไปนี้
1.เราต้องการค้นหาอะไร
2.เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อการค้นหานี้
3.เราเห็นอะไรเกิดขึ้นบ้าง
4.สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้บอกอะไรแก่เราบ้าง
* * นำเสนอวิจัย
วิจัยเรื่อง การพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรม
ศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ (นางสาวประภัสสร คำบอนพิทักษ์)
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด
ประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย ก่อน-หลัง การจัดประสบการณ์
โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
สมมุติฐาน
เด็กปฐมวัยที่ได้การจัดกิจกรรมและศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีการพัฒนาทักษะกระบวนการ
วิทยาศาสตร์หลังจากการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง
กลุ่มตัวอย่าง เด็กอายุ 5-6 ปี
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ
1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ จำนวน 24 เรื่อง รถ ผลไม้ อาหาร เวลา
2. แบบการประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย
วิจัยเรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน (นางสาวจงรักษ์ หลาวเหล็ก)
ความมุ่งหมาย
1. ระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
นอกห้องเรียน
2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย ก่อน-หลังได้รับกิจกรรมวิทยาศาสตร์
นอกห้องเรียน
ขอบเขตการวิจัย ประชากรเด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี
ตัวแปลที่ใช้ในการศึกษา
1. ตัวแปลอิสระ ได้แก่ กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2. ตัวแปลตาม ได้แก่ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
1. แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในกิจกรรมวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2. แบบทดสอบในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย
2.1 การจัดหมวด
2.2 การหาความสัมพันธ์
จากการที่เด็กได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนสังเกตพฤติกรรมต่าง ๆ ดังนี้
1. เด็กให้ความร่วมมือและกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม เพราะเด็กมีความอยากรู้อยากเห็น
เด็กพบสิ่งใหม่ ๆ ทำให้เกิดการกระตุ้น
2. เนื่องจากลักษณะของการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เด็กจะได้เรียนรู้ผ่านประสาท
สัมผัสทั้ง 5 โดยอยู่ในพื้นฐานข้อปฏิบัติออกไปเรียนนอกห้อง ทำให้เด็กเรียนรู้จักรักษ์ธรรมชาติ
* * นำเสนอโทรทัศน์ครู
โทรทัศน์ครูเรื่อง พัฒนาการการสังเกตเป็นพื้นฐานที่สำคัญทางวิทยาศาสตร์
ไข่และน้ำมัน
- ครูร้องเพลง "ไก่ย่างถูกเผา" เพื่อนำเข้ากิจกรรม
ครูให้เด็กสังเกตไข่ที่ครูนำมา 2 ใบ แล้วตั้งคำถามว่าถ้าคุณครูโยนจะเกิดอะไรขึ้น
เมื่อคุณครูโยน ปรากฎว่าไข่ร้าว เด็กจึงบอกว่า ที่ร้าวเพราะไข่นั้นเป็นไข่ต้ม
- น้ำมัน ครูให้เด็ก ๆ สังเกตน้ำมัน 2 ชนิด สังเกตสี และกลิ่น
จากนั้นครูให้เด็ก ๆ นำน้ำมันพืชทาลงบนกระดาษ 1 แผ่น แล้วสังเกต ต่อไปนำน้ำมันหมูทาลงบนกระดาษ
แล้วสังเกต จากนั้นนำ 2 แผ่นมาเปรียบเทียบกัน ว่ามีอะไรเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร
Skill : ทักษะ
- การนำเสนองาน
- การสรุป
Apply : การนำไปใช้
- การนำความรู้ในบทความ โทรทัศน์ครู และกิจกรรมในงานวิจัย มาประยุกต์ใช้
Evaluation : การประเมิน
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งการเรียบร้อย ให้ความรู้อย่างเต็มที่
ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน
เพื่อน ๆ ตั้งใจฟังเพื่อน ๆ นำเสนอ แต่มีคุยกันบ้าง ๆ เวลา
ประเมินตนเอง
ตั้งใจฟังและตอบคำถามที่อาจารย์ถาม
ประเมินสภาพห้องเรียน
อุปกรณ์พร้อมใช้งาน ห้องสะอาดเรียบร้อย